ไก่บ้าน

ทีมนักโบราณคดี เผยการค้นพบ หลักฐานเก่าแก่ที่สุด ของการพัฒนาสายพันธุ์ ของไก่บ้าน

เหล่านักโปราณคดี จากสถาบันวิจัย ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ได้ออกมาเปิดเผยว่าได้ค้นพบ หลักฐานชิ้นสำคัญ และเก่าแก่มากที่สุด ที่บ่งชี้ว่ามนุษย์ได้นำไก่ป่า มาเป็นสัตว์เลี้ยง จันพัฒนาสายพันธุ์ มาเป็นไก่บ้าน ในช่วงรอยต่อของปลายยุคหินใหม่ กับยุคสำริด ซึ่งเป็นอะไรที่ช้ากว่า ที่เคยคาดการไว้ อยู่หลายพันปี

ซึ่งหลักฐานชิ้นดังกล่าว นั้นก็คือ ซากกระดูกไก่บ้าน อายุ 3,670 ปี ในหลุมฝั่งศพ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา โดยข้อมูลเหล่านี้ ได้สอดคล้องกับหลักฐาน ที่ว่า ไก่ป่าสีแดง ที่มีถิ่นกำเนิด ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เป็นไก่บรรพบุรุษ ของเหล่าไก่บ้านหลายๆ สายพันธุ์ ที่มีอยู่ทั่วโลกในขณะนี้

รายงานวิจัย ต้นกำเนิดของไก่บ้านนั้น ได้ตีพิมพ์ในวารสารถึง 2 ชิ้น ได้แก่ Antiquity และ PNAS หลังได้มีการเข้าตรวจสอบ อายุของกระดูกไก่ ที่ค้นพบตาม แหล่งโบราณคดีทั่วโลกกว่า 600 แห่ง 89 ประเทศใหม่ จึงวิเคราะห์อายุของซากกระดูก แล้วพบว่าได้คำนวณผิดพลาด ที่เข้าใจว่าต้นกำเนิดแท้จริงนั้น มาจาก แอฟริกาเหนือและแถบยูเรเชียตะวันตก

ดร.โอฟีลี เลอบราสเซอร์ จากศูนย์มานุษยชีววิทยา และจีโนมิกส์แห่งนครตูลูสของฝรั่งเศส

บอกว่าพบกระดูกไก่บ้านจากยุคโบราณจำนวนมากที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด ทั้งยังพบว่าไก่เหล่านั้นถูกฝังอย่างระมัดระวังรวมกับร่างมนุษย์ในหลุมศพ โดยไม่พบร่องรอยว่ามันถูกเชือดแต่อย่างใด แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่บ้านในเชิงพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ มากกว่าจะเป็นการเลี้ยงเพื่อนำมาเป็นอาหาร

วัฒนธรรมการฝังไก่ที่เลี้ยงไว้ในหลุมศพของมนุษย์โบราณนั้น พบในช่วงยุคสำริดและยุคเหล็กของยุโรปเช่นกัน โดยไก่ถูกมองว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถนำทางวิญญาณมนุษย์ไปสู่ปรโลกได้ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อดังกล่าวได้เสื่อมสูญไปและเริ่มมีการเลี้ยงไก่เพื่อกินเนื้อและไข่เป็นอาหาร ในยุคของจักรวรรดิโรมันโบราณ

ดร. เลอบราสเซอร์ยังสันนิษฐานว่า ไก่ป่าในอดีตละทิ้งที่อยู่อาศัยบนต้นไม้ของมัน และลงมาหากินบนพื้นดินใกล้บ้านเรือนของมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ หลังเริ่มมีการทำนาปลูกข้าวแบบแห้ง (dry rice) โดยเมล็ดข้าวคือสิ่งล่อใจให้ไก่ป่าเข้าใกล้คน ก่อนจะเกิดการคัดเลือกปรับปรุงสายพันธุ์จนกลายเป็นไก่บ้าน ในทำนองเดียวกับที่สุนัขป่าบางตัวถูกคัดเลือกโดยมนุษย์และกลายมาเป็นสุนัขบ้านนั่นเอง

ไก่บ้าน

นักโบราณคดีพบหลักฐานใหม่ บรรพบุรุษไก่บ้านที่เลี้ยงกันทั่วโลกมีต้นกำเนิดในประเทศไทย

นักโบราณคดีพบหลักฐานใหม่ที่มีข้อบ่งชี้ว่าต้นกำเนิดของไก่บ้านที่เลี้ยงกันอยู่ทั่วโลกอาจอยู่ที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ในช่วง 1,650-1,250 ปีก่อนคริสตกาล เดิมทีไม่ได้ถูกเลี้ยงไว้เป็นอาหาร แต่เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการเคารพบูชา

ที่ผ่านมามีงานวิจัยหลายฉบับที่เผย ข้อค้นพบเกี่ยวกับบรรพบุรุษของไก่บ้านว่า มีต้นกำเนิดจากไก่ป่าที่ถูกนำมาเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์จนกลายมาเป็นไก่บ้านที่ผู้คนทั่วโลกเลี้ยงกันอยู่วันนี้ โดยไก่ป่าสายพันธุ์ที่ถูกระบุว่าเป็นบรรพบุรุษของไก่บ้านก็คือ ‘ไก่ป่าสีแดง’ ( Red junglefowl) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่งานวิจัยล่าสุดของทีมนักโบราณคดีในยุโรป ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PNAS มีการเปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า ต้นกำเนิดที่แท้จริงของไก่บ้านนั้นอยู่ที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเมื่อประมาณ 3,600 ปีมาแล้ว การวิจัยดังกล่าวอ้างถึงการค้นพบกระดูกไก่ที่เก่าแก่ที่สุด

ในแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด หลังจากที่ได้ทำงานตรวจสอบอายุของซากกระดูกไก่จากแหล่งโบราณคดีทั่วโลกกว่า 600 แห่งใน 89 ประเทศ ซึ่งพบว่ามีหลักฐานบางอย่างที่มีการคาดคะเนผิดพลาด การค้นพบครั้งใหม่นี้ได้มาโต้แย้งข้อมูลที่มีการระบุก่อนหน้านี้ว่า ไก่ถูกนำมาเลี้ยงตั้งแต่เมื่อ 10,000 ปีก่อนในประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หรือบริเวณอนุทวีปอินเดีย ก่อนที่จะไปปรากฏอยู่ในทวีปยุโรปเมื่อประมาณ 7,000 ปีก่อน หลักฐานใหม่ที่ถูกค้นพบชี้ว่า ไก่ป่าสีแดงซึ่งเป็นบรรพบุรุษของไก่บ้าน เริ่มเข้ามามีความสัมพันธ์ในวิถีชีวิตของมนุษย์หลังจากที่เริ่มมีการทำนาปลูกข้าวแบบแห้ง

โดยพวกมันเข้ามากินอาหาร ที่เป็นเมล็ดข้าวและธัญพืชที่เพาะปลูกไว้ ก่อนถูกจับมาเลี้ยงและมีวิวัฒนาการกลายมาเป็นไก่บ้านทุกวันนี้ ศาสตราจารย์เกรเกอร์ ลาร์สัน หนึ่งในทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดอธิบายถึงเรื่องนี้ว่า “การศึกษาต้นกำเนิดของไก่บ้านอีกครั้งอย่างครอบคลุม

ทำให้เราได้รู้ว่าความเข้าใจในเรื่องเวลา และสถานที่ก่อนหน้านี้นั้นคลาดเคลื่อนไปอย่างไร และที่น่าตื่นเต้นไปกว่านั้นก็คือ เราค้นพบกันว่าการเริ่มต้นทำนาปลูกข้าวแบบแห้งเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้ไก่ป่าเข้ามาใกล้ชิดวิถีชีวิตของมนุษย์จนมีการพัฒนาสายพันธุ์กลายมาเป็นไก่เลี้ยงและแพร่กระจายไปทั่วโลก”

การวิจัยยังชี้ด้วยว่า สายพันธุ์ไก่บ้านเริ่มแพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียเป็นลำดับแรก ก่อนที่จะถูกส่งไปตามพื้นที่แนวชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตามเส้นทางการเดินเรือที่พ่อค้าชาวกรีก อีทรัสกัน และฟีนีเชียน ใช้กันในยุคแรก อย่างไรก็ตาม ไก่บ้านในยุคแรกไม่ได้ถูกเลี้ยงไว้เป็นอาหาร

แต่ถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ โดยโครงกระดูกไก่ที่มีอายุเก่าแก่ซึ่งถูกค้นพบส่วนใหญ่ พบว่าถูกฝังในลักษณะที่มีความสมบูรณ์ไร้ร่องรอยของการถูกฆ่า และมีหลายโครงกระดูกที่ถูกพบว่าฝังอยู่เคียงข้างโครงกระดูกของมนุษย์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในเชิงพิธีกรรมมากกว่าสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเอาไว้เพื่อเป็นอาหาร

ศาสตรจารย์นาโอมิ ไซเคส นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์กล่าวว่า “การกินไก่ทุกวันนี้เป็นเรื่องปกติมากจนผู้คนคิดว่าไก่ต้องถูกนำมากินเป็นอาหารมาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่หลักฐานใหม่ที่เราค้นพบได้แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างไก่และมนุษย์ในอดีตนั้นมีความซับซ้อนกว่าที่เคยคิดกันอยู่มาก พวกมันเป็นสัตว์ที่ถูกสรรเสริญและเป็นที่เคารพสักการะมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ”

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com / workpointtoday.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : mix-and-match.net